การส่งเสริม พัฒนาการน้อมนำพระบรมราโชบาย รัชกาลที่ 10 ด้านทักษะอาชีพ ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ โดยใช้การนิเทศแบบกัลยาณมิตร (KALAYANAMIT : กัลยาณมิตร) สู่ KRABI KHOM Model
การใช้กระบวนการนิเทศแบบ PSD_2R เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
1. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 สามารถคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร ทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่อาชีพ และการมีงานทำตามความถนัด ความต้องการ ตามบริบท
2. เพื่อส่งเสริม พัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ เป็นเลิศทางด้านวิชาการให้ได้รับการดูแลช่วยเหลือ และส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ มีทักษะความรู้ที่สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
3. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย หลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นและความต้องการของสถานศึกษา
4. เพื่อพัฒนากรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นที่สอดคล้องกับเป้าหมาย จุดเน้น สาระท้องถิ่น
5. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน นิเทศติดตามและประเมินผล สถานศึกษาให้จัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21( 3Rs 8Cs)
การดำเนินการระดับเขตพื้นที่การศึกษาตามปฏิทินการพัฒนา ได้พัฒนาครูทุกคนในสังกัดให้มีความรู้ ความเข้าใจในด้านการ จัดการเรียนรู้เชิงรุก และสามารถออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในกลุ่มสาระที่ตนเองรับผิดชอบได้อย่างน้อยคนละ 1 แผน แต่ยังไม่ได้ติดตามสู่ชั้นเรียน เนื่องจากหลังจากพัฒนาจนครบตามระยะเวลาเป็นช่วงเวลาที่ครูเตรียมการวัดและประเมินผลนักเรียนปลายภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 และการพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ด้วยรูปแบบออนไลน์ วิทยากรขาดการปฏิสัมพันธ์แบบซึ่งหน้ากับครูผู้เข้ารับการอบรม ไม่เห็นความเป็น Active Learning ขณะอบรมและไม่ได้สะท้อนคิดกับครูว่าเข้าใจชัดเจนหรือไม่ รวมทั้งปัญหาด้านสัญญาณอินเตอร์เน็ตกับความตั้งใจจดจ่อของครูขณะอบรม ซึ่งทั้งหมดอาจผ่านการอบรม แต่บางคนอาจยังไม่ได้นำการปฏิบัติอย่างจริงจัง จึงมีแนวทางพัฒนาและส่งเสริมครู ในด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ดังนี้ 1) หลังจากการพัฒนาและครูสามารถออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ได้แล้ว ควรใช้การนิเทศแบบสังเกตชั้นเรียน เพื่อนิเทศการจัด การเรียนรู้เชิงรุกของครูสู่การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อให้นักเรียนบรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร เกิดความรู้ ทักษะ/กระบวนการ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และมีสมรรถนะเฉพาะและสมรรถนะหลักตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 2) ศึกษานิเทศก์ทุกคนต้องได้รับการพัฒนาด้านการนิเทศเชิงรุก เพื่อการชี้แนะและเป็นพี่เลี้ยงให้ครูสามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นการร่วมกันพัฒนาครูในกลุ่มสาระที่รับผิดชอบ สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีและสร้างความมั่นใจในการพัฒนาตนเองของครู และ 3) ผู้บริหารทุกคนต้องได้รับการพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และสามารถนิเทศภายในโรงเรียนโดยการสังเกตชั้นเรียน และร่วม Coaching ครูให้สามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ จึงจะทำให้เกิดการพัฒนาครูทุกคนอย่างจริงจังและพัฒนาไปด้วยกันทั้งระบบ เนื่องการนิเทศแบบสังเกตชั้นเรียนจะเป็นการนิเทศที่เข้าถึงครูได้ทุกคน
1. เพื่อพัฒนาสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพและนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
2. เพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่สถานศึกษาได้กำหนดไว้
3. เพื่อนิเทศส่งเสริม และพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในให้กับสถานศึกษาที่เข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ. ปีงบประมาณ 2567
1. เพื่อพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนในโครงการโรงเรียนคุณภาพตามนโยบาย “1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ” 5 ด้าน ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนนักเรียน ด้านผู้บริหาร ครู และบุคลากร ทางการศึกษาด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านนักเรียน
2.เพื่อนิเทศติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของโรงเรียนในโครงการโรงเรียนคุณภาพตามนโยบาย “1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ”
1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบประเมินผลและนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิผล ในรูปแบบที่หลากหลายตามสภาพบริบทอย่างทั่วถึงและปลอดภัย
2. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดให้ได้ตามมาตรฐาน
1. เพื่อกำหนดกรอบ ทิศทาง ในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ 2. เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กของ สพป.กระบี่ และยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กให้สูงขึ้น
1.เพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนาและยกระดับการบริหารการจัดการให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลเกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการและการอำนวยความสะดวกต่อประชาชน ให้เข้าถึงการบริการสาธารณะด้วยความเป็นธรรมผ่านการปฏิบัติงานอย่างมีมาตรฐาน 2.เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานในสังกัด ให้เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
1) เพื่อให้การประสานงานมีความคล่องตัว มีความเข้าใจตรงกัน ลดข้อขัดแย้งในการทำงาน รวมถึงสร้างความสามัคคีและความเข้าใจในทีมงาน
2) เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ประหยัดทรัพยากร ประหยัดเวลาในการปฏิบัติงาน 3) เพื่อให้เกิดการทำงานที่บรรลุเป้าหมายได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว และมีคุณภาพ